Top Ad unit 728 × 90

ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน

Science-News

นักวิทยาศาสตร์ค้บพบอะมีบาที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้

The amoeba, Paulinella, which has two large, sausage-shaped plastids for photosynthesis.
― Credit: Hwan Su Yoon


เมื่อ 100 ล้านปีก่อน อะมีบา ได้ทำการดึงเอายีนจากแบคทีเรียเข้ามในตัวเอง เพื่อเติมเต็มยีนที่ขาดหายไป

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Rutgers University ได้ทำการศึกษาเพื่อไขปริศนาที่ว่า อะมีบาเหล่านี้ มีขั้นตอนในการขโมยยีนของแบคทีเรียอย่างไร และจากการศึกษาพบว่า อะมีบาจะทำการกลืน (engulfed) แบคทีเรียเข้ามา แต่ปล่อยให้แบคทีเรียมีชีวิตต่อไป ซึ่งแบคทีเรียบางชนิสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้

ประเด็นของการค้นพบในครั้งนี้คือ เราสามารถอธิบายได้แล้วว่ายีนสามารถเคลื่อนย้ายจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งได้อย่างไร

Debashish Bhattacharya ได้กล่าวว่า "เมื่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมีการขาดหายไปของยีน มันสามารถเติมเต็มยีนที่ขาดหายไปด้วยการจับเอายีนที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้ามาไว้ในร่างกายของมันได้"

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า มนุษย์อย่างเราๆ มีกระบวนการในการนำเอายีนจากแบคทีเรียเข้ามาในร่างกายได้อย่างไร

Dana C. Price ได้กล่าวว่า "ในตอนนี้เราสามารถอธิบายได้ในระดับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเท่านั้น"

งานวิจัยล่าสุด ที่ได้รับการตีพิมพ์ ใน Proceedings of the National Academy of Sciences
ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

โลกเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และสาหร่าย ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีพลาสติด (plastids) เช่น คลอโรฟิลล์อยู่ คลอโรฟิลล์เป็นพลาสติดที่มีสีเขียว เนื่องจากสะท้อนแสงในช่วงคลื่น 530 - 600 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นของแสงสีเขียว และดูดกลืนแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจากบรรพบุรุษเมื่อ 1.5 พันล้านปีก่อน ในตอนที่สาหร่ายกลืน (engulf) แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เข้าไปในร่างกายของมัน และเกิดการลดรูปของแบคทีเรียลงจนเหลือเพียงคลอโรพลาสต์ (ภายในคลอโรพลาสต์มีคลอโรฟิลล์) และจากกระบวนการนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่เราเรียกว่า ทฤษฏีการวิวัฒนาการร่วมกัน (endosymbiosis) และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผลผลิตของกระบวนการเหล่านี้

ทฤษฏีการวิวัฒนาการร่วมกัน (endosymbiosis)ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ในอดีตอย่างมาก ในปี 1895 Robert Lauterborn นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ได้เขียนถึงอะมีบาที่เขาค้นพบ (Paulinella chromatophora) เขาพบว่ามีเซลล์ของพืชอยู่ภายในอะมีบาชนิดนี้ โดยมีรูปร่างเหมือนไส้กรอกใหญ่ๆ สองอัน ต่อมาเขาเรียกมันว่า chromatophores ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

Robert Lauterborn กล่าวว่า การค้นพบสิ่งมีชีวิตสองชนิดที่อยู่ร่วมกัน (symbiosis) หรือ ทำงานร่วมกัน (collaboration) เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับ ทฤษฏีการวิวัฒนาการร่วมกัน (endosymbiosis) ได้

เป็นเวลานานเกือบทศวรรษ นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเพราะเลี้ยงอะมีบาเหล่านี้ได้ และไม่ค่อยพบในธรรมชาติด้วย แต่เมื่อ 20 ปี ให้หลังมานี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Michael Melkonian ซึ่งอยู่ในทีมวิจัยเดียวกับ Bhattacharya สามารถที่จะแยกอะมีบาเหล่านี้และนำมาเพาะเลี้ยงไว้ได้ นั่นหมายความว่า ต่อไปนักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะทำการศึกษาอะมีบาชนิดนี้ได้อย่าง่ายดายมากขึ้นนั่นเอง

สุดท้ายผมขอจบไปด้วย คำพูดของ อาจารย์ Debashish Bhattacharya ที่ว่า
"Evolution can find a way, in this case by solving the problem of broken genes by gathering replacement genes from the environment" 
 D.  Bhattacharya                        

ที่มา : Phys.org, Current Biology
แปลมั่วเช่นเคย โดย : KrupBank (ครูพี่แบงค์)                                
นักวิทยาศาสตร์ค้บพบอะมีบาที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ Reviewed by Kru P' Bank on วันอังคาร, ตุลาคม 11, 2559 Rating: 5
All Rights Reserved by BIOLOGY BY KRU-P'BANK © Since 2015
Made with Love by Sanwithz

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.