Top Ad unit 728 × 90

ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน

Science-News

ติดได้แน่ แม้เปียกมาก

ติดได้แน่ แม้เปียกมาก

Slug-inspired, flexible medical bio-glue sticks to wet surfaces without toxicity

วันที่ :
10 สิงหาคม 2560 / August 10, 2017
แหล่งข่าว :
Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering at Harvard [Download Journal]
แปลโดย :
ครูพี่แบงค์



― ขอขอบพระคุณภาพจาก Jianyu Li, Adam D. Celiz, David J. Mooney

บทคัดย่อ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบกาวชีวภาพ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเมือกของทาก ซึ่งสามารถติดวัสดุเข้าด้วยกันได้ แม้พื้นผิวนั่นจะเปียกอยู่ ซึ่งจากการค้นพบนี้ เราสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นแผ่นติดแผล เพื่อช่วยให้แผลหลังการผ่าตัดฝื้นตัวได้อย่างรวดเร็วได้

1. ทำไมงานวิจัยนี้น่าสนใจ

ประเด็นแรกคือ การทำพลาสเตอร์ที่ติดได้ในพื้นผิวที่เปียกเป็นเรื่องที่ยากมาก ทำไมต้องที่เปียกหล่ะ เพราะเมื่อเกิดบาดแผล ร่างกายเราก็จะมีเลือดออก และเลือดที่ไหลออกมานี้จะทำให้พลาสเตอร์ติดไม่ได้
ประเด็นที่สองคือ พลาสเตอร์ติดแผลส่วนมากจะเป็นพิษกับแผล
ประเด็นที่สามคือ เมื่อพลาสเตอร์เหล่านี้แห่ง จะไม่มีความสามารถในการยืดหยุ่น

แต่ทีมจาก Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering และ  John A. Paulson School of Engineering and Applied Sciences (SEAS)  จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำให้ปัญหาทั้งสามข้อข้างต้นนั้นหมดไปโดยการค้นพบกาวชีวภาพ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเมือกของทากนั่นเอง

2. ประวัติการค้นพบ

เริ่มต้นจาก ดร. Jianyu Li ได้คิดค้นหาวิธีที่จะทำให้พลาสเตอร์ติดแผล สามารถติดได้ดียิ่งขึ้น และได้ค้นพบคำตอบในที่ที่ไม่มีใครคิดมาก่อน นั่นคือ เมือกของทาก (Arion subfuscus) จากนั้น Jianyu Li ก็ได้นำเอาเมือกนี้มาพัฒนาต่อให้มีหลายชั้นมากขึ้น รวมถึงทำให้มีประจุเกิดขึ้นในแต่ละชั้น เพื่อให้สามารถติดได้ดีขึ้น

3. ผลการทดลอง (บางส่วน)


จากภาพด้านบน ภาพ A เป็นการทดลองความสามารถในการติดกับพื้นผิวชนิดต่างๆ เช่น ผิวหนัง หลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจ และตับ และพบว่า สารสกัดจากเมือกของทาก สามารถติดกับผิวหนังได้ดีที่สุด ส่วนภาพ B  เป็นการทดลองความสามารถในการติดกับพื้นผิวของสารชนิดต่างๆ และพบว่า Alginate poly acrylamide (ALG-PAAm) ช่วยให้แผ่นเจลติดกับพื้นผิวได้ดีที่สุด


จากภาพด้านบน เป็น ภาพการทดลองความสามารถในการติดของพลาสเตอร์ที่ทำจากสารสกัดจากเมือกของทาก กับกล้ามเนื้อหัวใจ และพบว่ามีผลทำให้เกิดการอักเสบลดลง

วีดิโออธิบายเพิ่มเติม




ศัพท์ชีวะน่ารู้

1. Slug 

     หมายถึง ทาก

2. Cartilage 

     หมายถึง กระดูกอ่อน

3. Artery

     หมายถึง เส้นเลือดแดง

4. Adhesion 

     หมายถึง แรงยึดระหว่างวัสดุ 2 อย่างที่แตกต่างกัน
     ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใส่น้ำลงไปในหลอดทดลอง พื้นผิวของน้ำจะเป็นลักษณะโค้งลง
     เนื่องจาก แรงด้านข้างซึ่งเป็นแรงระหว่างแก้ว กับโมเลกุลของน้ำ นั่นเอง

5. Mucus

     หมายถึง เมือก

6. Surface

     หมายถึง พื้นผิว



ติดได้แน่ แม้เปียกมาก Reviewed by Kru P' Bank on วันศุกร์, สิงหาคม 11, 2560 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

All Rights Reserved by BIOLOGY BY KRU-P'BANK © Since 2015
Made with Love by Sanwithz

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.