Top Ad unit 728 × 90

ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน

Science-News

Stoma (ปากใบ) ใครว่าเกิดมาแค่เพียงคายน้ำ


Stoma (ปากใบ)
stoma หรือปากใบ ตามความหมายดั้งเดิม คือโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากคู่ของ guard cell (เซลล์คุม) 1 คู่ และรูหรือช่องเปิดที่อยู่ระหว่างคู่ของ guard cell เรียก stomatal pore (รูปากใบ)


แต่ในปัจจุบันทั้งตำราไทย (บางเล่ม) ตำราฝรั่ง (บางเล่ม) หรือแม้แต่บทความวิจัย (บางฉบับ) มักจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า stoma คือรูหรือช่องเปิดที่อยู่ระหว่างคู่ของ guard cell


stoma เป็นโครงสร้างที่พบบน epidermis (เนื้อเยื่อผิว) และเรามักจะเข้าใจในวิวัฒนาการของพืช stoma ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการคายน้ำ (transpiration) เพราะเราถูกให้ข้อมูลมาว่าการคายน้ำเกิดขึ้นที่ปากใบ
แต่หน้าที่หลักที่แท้จริงของ stoma คือการแลกเปลี่ยนก๊าซ (gas exchange) เนื่องจากพืชบกมีวิวัฒนาการในการสร้างชั้น cuticle (คิวติเคิล) เคลือบปิดผนังเซลล์ด้านนอกของ epidermal cell (เซลล์ผิว) เอาไว้ เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำจากโครงสร้างภายในออกสู่บรรยากาศภายนอก เพราะพืชบกจำเป็นต้องรักษาระดับปริมาณน้ำภายในเซลล์เอาไว้ให้พอดีที่เซลล์จะรักษาแรงดันเต่งเอาไว้ได้ และทำให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติ แต่ cuticle ก็ป้องกันไม่ให้ก๊าซภายนอกแพร่เข้าสู่โครงสร้างภายในของพืชด้วยเช่นกัน ดังนั้นพืชจำเป็นต้องมีช่องทางที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซ เพื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จำเป็นต้องใช้ใน photosynthesis (กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง) เข้ามา 


stoma คือโครงสร้างที่วิวัฒนาการมาเพื่อหน้าที่นี้
แต่เมื่อ stoma เปิดทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ ย่อมเป็นช่องทางที่ทำให้ไอน้ำภายในโครงสร้างระเหยออกมาสู่บรรยากาศภายนอกได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดกลไกของการคายน้ำทางปากใบ และเป็นสาเหตุทำให้เกิด transpiration pull (แรงดึงจากการคายน้ำ) เกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำ และดูน้ำจากรากให้ลำเลียงขึ้นมาเป็นสายสู่ด้านบนได้


ที่มา :  Botany & Genetics at Chulalongkorn University
Stoma (ปากใบ) ใครว่าเกิดมาแค่เพียงคายน้ำ Reviewed by Kru P' Bank on วันศุกร์, พฤศจิกายน 20, 2558 Rating: 5
All Rights Reserved by BIOLOGY BY KRU-P'BANK © Since 2015
Made with Love by Sanwithz

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.